วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

ความหมายจริยธรรมและความหมายจรรยาบรรณ

จริยธรรม มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต
• จริย หมายถึง ความประพฤติ การปฏิบัติ กิริยาที่ควรประพฤติ
• ธรรม หมายถึง คุณความดี บุญกุศล ข้อบังคับ กฎ หลัก คำสั่งสอนทางศาสนา

จริยธรรม หมายถึง การแสดงออกทางการประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่แสดงให้เห็นถึงการกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและอยู่ในกรอบของศีลธรรม

จรรยาบรรณ หมายถึง “ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างที่กำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้”จรรยาบรรณเป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ ผู้ประกอบอาชีพสาขาต่างๆ พึงตระหนักและปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทางที่จะอำนวยประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นในสังคมด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และยุติธรรม

จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์
1. จรรยาบรรณต่อตนเอง ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดำรงชีวิตเหมาะสมตามหลักธรรมาภิบาล
     1.1 ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความยุติธรรม ใฝ่หาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาตน และงานที่รับผิดชอบ อันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ตนเองและหน่วยงานที่สังกัด
     1.2 ผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของงานสูงสุด
2. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน ตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้รักสามัคคี
     2.1 ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิเดิมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
     2.2 ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ความสามารถและความประพฤติดี
     2.3 รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ
3. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ไม่ประพฤติหรือกระทำการใดๆอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในวิชาชีพแห่งตน
     3.1 ใช้ความรู้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในทางทำลายหรือกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย
     3.2 ไม่แอบอ้าง อวดอ้าง ดูหมิ่นต่อบุคคลอื่นๆหรือกลุ่มวิชาชีพอื่น
     3.3 ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพ ผู้ร่วมอาชีพและเพื่อพัฒนาวิชาชีพ
4. จรรยาบรรณต่อสังคม ปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตน ในวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม
     4.1 ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎ ระเบียบ และหลักคุณธรรม จริยธรรม
     4.2 ไม่ใช้อำนวยหน้าที่โดยไม่ชอบธรรมในการเอื้อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์
     4.3 ไม่ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางล่อลวง หลอกลวง จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่น
5. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ เคารพในสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้อื่น ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม
     5.1 รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล เครือข่าย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง
     5.2 เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้

ที่มา http://www.finearts-psdg.com/n/tabid/247/Default.aspx

คุณสมบัติของนักคอมพิวเตอร์ที่ดีควรมีคุณสมบัติที่เอื้อประโยชน์ต่องานอาชีพ คุณสมบัติของนักคอมพิวเตอร์ ควรมีลักษณะ ดังนี้
     1. เป็นนักวางแผนที่ดี
     2. เป็นนักออกแบบที่สร้างสรรค์
     3. เป็นนักจิตวิทยา
     4. เป็นผู้มีสติ
     5. เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ
     6. เป็นผู้ใช้ศาสตร์ใช้ศิลป์ได้อย่างกลมกลืน
     7. เป็นผู้มีวินัยในตนเอง
     8. มีความขยัน อดทน
     9. มีความกระตือรือร้น สนใจศึกษาค้นคว้าอยู่เสมอ
     10. มีจรรยาต่อวิชาชีพ
การพัฒนาบุคลิกภาพเพื่องานอาชีพงานอาชีพคอมพิวเตอร์นับว่ามีความสำคัญต่อหน่วยงาน สถาบัน และองค์กรทางธุรกิจต่างๆ มากมาย ดังนั้นผู้ที่เป็นนักคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีบุคลิกที่เอื้ออำนวยให้เกิดภาพลักษณ์ในทางบวกต่อตนเองและงานอาชีพ ในที่จะขอกล่าวบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ในงานคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการพัฒนาปรับปรุงบุคลิกภาพให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความเชื่อถือศรัทธา และเป็นที่ยอมรับของผู้ที่มาติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าผู้ใช้บริการ หรือนายจ้างบุคลิกของนักคอมพิวเตอร์จึงมีส่วนช่วยในการทำงานประสบความสำเร็จ ฉะนั้นจึงควรมีการพัฒนาบุคลิกภาพด้านต่างๆ ต่อไปนี้
     1. รู้จักพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รอบรู้
     2. รู้จักฝึกตนเองให้มีความอดทน
     3. รู้จักฝึกตนเองให้เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง
     4. รู้ปรับตัวในด้านความสัมพันธ์ดี
     5. รู้จักปรับตัวให้ทำงานกับผู้อื่นได้
     6. รู้จักตนเองให้เป็นคนตรงต่อเวลาในการนัดหมาย
     7. รู้จักฝึกตนเองให้มีความรับผิดชอบในการ
     8. รู้จักดูแลตนเองในด้านการแต่งกายให้เหมาะสมกับงานและตำแหน่งเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพให้แก่ผู้ที่พบเห็นได้อีกด้วย
     9. รู้จักคิดและพัฒนาอุปนิสัยให้คนซื่อสัตย์ และมีความจริงใจต่อผู้อื่น
     10. รู้จักการทำตนให้เป็นคนกล้ายอมรับความจริง